โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ร่วมประชุมลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการ Pre-TM และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย ณ สถานประกอบการ ร่วมกับ บริษัท ฮาดาญา โกลบอล (ไทยแลนด์) จำกัด ต.พิชัย อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง | งานยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ร่วมประชุมลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการ Pre-TM และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย ณ สถานประกอบการ ร่วมกับ บริษัท ฮาดาญา โกลบอล (ไทยแลนด์) จำกัด ต.พิชัย อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง

เผยแพร่เมื่อ : อาทิตย์ 20 พฤศจิกายน 2565 โดย จริยา ปามูล จำนวนผู้เข้าชม 166 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU มทร.ล้านนา ได้ติดตามผลการดำเนินงานภายใต้โครงการเคลื่อนย้ายบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในภาคอุตสาหกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตให้กับภาคอุตสาหกรรม ผ่านกลไก Pre-Talent Mobility ประจำปีงบประมาณ 2565

โครงการแนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการตลาด ผลิตภัณฑ์น้ำปลาหวานแม่นายของบริษัทฮาดาญา โกลบอล (ไทยแลนด์) จำกัด โดย นางปรีดา ตัญจนะ หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ บริษัท ฮาดาญา โกลบอล (ไทยแลนด์) จำกัด ต.พิชัย อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง 

ภายใต้โครงการนี้ นางปรีดา ตัญจนะ หัวหน้าโครงการ ได้กล่าวรายงานความก้าวหน้าของโครงการให้ทราบ โดยมีนางสาวสุดารัตน์ พงษสกล พนักงาน digital marketing ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานประกอบการ และให้โจทย์ความต้องการของสถานประกอบการเพิ่มเติม เรื่องที่มาของโครงการ อีกทั้งได้แนะนำสินค้าของบริษัทได้แก่ ขายปลีกผลิตภัณฑ์น้ำปลาหวานในชื่อ น้ำปลาหวานแม่นาย ขายผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจุดซ่อนเร้นสุภาพสตรีในชื่อ HADAYA และเสื้อผ้ามัดย้อม ผ้าพื้นเมือง เป็นต้น โดยบริษัทมีการขายทางเพจออนไลน์เป็นหลัก และมีโจทย์ปัญหาของบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์น้ำปลาหวาน “น้ำปลาหวานแม่นาย” โดยปัญหาที่พบคือการแตกหักชำรุดเสียหายระหว่างการขนส่งจากบริษัทสู่ลูกค้า เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในครั้งแรก แตกหักชำรุดระหว่างการขนส่ง นักวิจัยจึงเข้าไปมีส่วนร่วมในการรับทราบปัญหา และเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาข้อเสนอโครงการเพื่อขอทุนโครงการวิจัยต่างๆต่อไปเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาให้แก่สถานประกอบการ โดยนักวิจัยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ของน้ำปลาหวานให้มีความแน่นหนามากขึ้น โดยแก้ไขปัญหาการแตกหักดังกล่าวของบรรจุภัณฑ์ และมีการได้เข้าไปเรียนรู้ในการสร้างเพจช่องทางออนไลน์ ร่วมกับสถานประกอบการ รวมทั้งนำข้อมูลปัญหาที่ได้รับจากสถานประกอบการมาศึกษาแนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และนำข้อมูลไปใช้กำหนดกลยุทธ์ในการประกอบธุรกิจต่อไปในอนาคตแก่สถานประกอบการอีกด้วย







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา