เผยแพร่เมื่อ : พุธ 15 กุมภาพันธ์ 2566 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 1418 คน
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรพิน พรมแดน หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาตร์ SPU พร้อมคณะ เข้าร่วมการประชุมตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการ RUCL รอบ 4 เดือน ประจำปี 2565 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย ณ สถานประกอบการ โครงการแพลตฟอร์มบริหารจัดการทรัพยากรผู้มีศักยภาพของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เพื่อปฏิรูประบบการพัฒนากำลังคนของประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2565 (Reinventing University) ภายใต้กิจกรรมโครงการ Platform การเตรียมความพร้อมและพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตให้กับภาคอุตสาหกรรม (Talent Mobility) ภายใต้โจทย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อล้านนาสร้างสรรค์ (Creative Lanna) รอบที่ 2 โดยการแก้ไขปัญหาโจทย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อล้านนาสร้างสรรค์ หมายถึง “การรักษา อนุรักษ์และพัฒนาด้วยการสร้างสรรค์วัฒนธรรมล้านนา เพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่มจากสินค้า บริการ หรือการท่องเที่ยวจากต้นทุนทางภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรมล้านนา มีการสร้างและรวบรวมองค์ความรู้พร้อมใช้ เพื่อนำไปทำให้ประโยชน์ต่อชุมชนให้สามารถนำไปต่อยอดด้วยการประยุกต์ บูรณาการกับการออกแบบรสนิยมวิถีชีวิตสมัยใหม่ ทำให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมสมัยและเติบโตด้วยตนเองได้”
เนื่องจากวันที่ลงพื้นที่ตรวจติดตามโครงการนั้น ตรงกับวันจัดกิจจกกรรมที่ 3 ภายใต้โครงการการพัฒนาเครื่องประดับเงินชุมชนบ้านวัวลาย ด้วยอัตลักษณ์ภูมิปัญญา ท้องถิ่นร่วมสมัย สู่สินค้าวัฒนธรรมเชิงพาณิชย์ ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อตลาดการท่องเที่ยวของชุมชน กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ และกระบวนการสร้างสรรค์ การจัดระบบการบริหารจัดการจัดร้านและการท่องเที่ยวของชุมชน ภายใต้กิจกรรมได้พูดคุย และร่วมแสดงความคิดเห็นแนวคิดการจัดการชุมชน และวัดศรีสุพรรณ ให้มีโมเดลเป็นการท่องเที่ยวสีเขียว โดยมีการนำเสนอกรอบความคิด พื้นที่สีเขียว ประโยชน์และโอกาสของพื้นที่สีเขียว และแนวทางการจัดการท่องเที่ยวสีเขียวอย่างมีส่วนร่วมอีกด้วย
เนื่องจากมูลนิธิวัดเงิน เป็นผู้ประกอบการรายหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ วัดศรีสุพรรณ บ้านวัวลาย ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม งานช่างสิบหมู่ล้านนา และการสร้างอุทยานการเรียนรู้ช่างสิบหมู่ล้านนา การส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้ภูมิปัญญาล้านนา รวมทั้งการดำเนินงานร้านค้าผลิตและจำหน่ายหัตถกรรมเครื่องเงิน การจัดสร้างอุโบสถเงินหลังแรกของโลก ที่เป็นการอนุรักษ์และสืบทอดงานหัตถกรรมเครื่องเงินของชุมชนบ้านวัวลาย จึงมีหน่วยงานร่วมดำเนินการอยู่หลากหลายภาคส่วน เช่น ร่วมกับหน่วยงานในการอนุรักษ์การท่องเที่ยว วิสาหกิจชุมชนบ้านวัวลาย ร้านค้าประชารัฐ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา วิทยาลัยในวัง เป็นต้น
ทั้งนี้ในส่วนของโครงการ หัวหน้าโครงการได้พูดคุยถึงความก้าวหน้าของโครงการ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างออกแบบและผลิตต้นแบบเครื่องประดับเงินของมูลนิธิวัดเงิน ชุมชนบ้านวัวลาย ที่บ่งชี้ถึงอัตลักษณ์ภูมิปัญญา และมีความทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนไป และวัฒนธรรมท้องถิ่น สู่สินค้าวัฒนธรรมเชิงพาณิชย์ เพื่อตลาดการท่องเที่ยวของชุมชน รวมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้แนวคิดการออกแบบและกระบวนการผลิตเครื่องประดับ เงิน สู่มูลนิธิวัดเงิน และผู้ประกอบการ ของชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แบบมีส่วนร่วม รวมทั้งยังส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมของชุมชนบ้านวัวลายอีกด้วย
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา