โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ลงพื้นที่ประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 โครงการการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบการให้น้ำอัตโนมัติ Lora และการพัฒนารูปแบบการทำบรรจุภัณฑ์ ของ นางสาวดุษฎี มุกดาอ่อน ร่วมกับ  ห้างหุ้นส่วนจำกัด สมาย ออเร้นจ์ สมาร์ท ฟาร์ม ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ | งานยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ลงพื้นที่ประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 โครงการการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบการให้น้ำอัตโนมัติ Lora และการพัฒนารูปแบบการทำบรรจุภัณฑ์ ของ นางสาวดุษฎี มุกดาอ่อน ร่วมกับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด สมาย ออเร้นจ์ สมาร์ท ฟาร์ม ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 1 ธันวาคม 2566 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 1051 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2566 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ว่าที่ร้อยโทสุรพิน พรมแดน พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการ ณ ห้างหุ้นส่วนจำกัด สมาย ออเร้นจ์ สมาร์ท ฟาร์ม ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อประชุมประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย ณ สถานประกอบการ "โครงการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบการให้น้ำอัตโนมัติ Lora และการพัฒนารูปแบบการทำบรรจุภัณฑ์ ของ นางสาวดุษฎี มุกดาอ่อน อาจารย์สังกัดคณะ บริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา ตาก หัวหน้าโครงการ"

โดยมี รองศาสตราจารย์พินิจ เนื่องภิรมย์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมระบบอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นคณะกรรมการประเมินโครงการดังกล่าว 

ทั้งนี้ นางสาวดุษฎี มุกดาอ่อน หัวหน้าโครงการ  ดร.แคทรียา พร้อมเพรียง ผู้ร่วมโครงการ และคุณปรัชญา ปันทะนะ หุ้นส่วนผู้จัดการสมาย ออเร้นจ์ สมาร์ท ฟาร์ม ได้รายงานผลการดำเนินงานโครงการในที่ประชุม และร่วมหารือ แนวทางในการพัฒนาโครงการดังกล่าวเพื่อต่อยอดงานวิจัย และพาเยี่ยมชมสวนส้มของสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องของการดำเนินการโครงการดังกล่าว อีกทั้งแนะนำแนวทางการต่อยอดพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างชาญฉลาด และให้ข้อแนะนำในการปรับปรุงการใช้นำระบบเดิมให้สามารถใช้ร่วมกับระบบ ROLA ให้สามารถใช้งานได้จริง 

จากโครงการได้มีการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบการให้น้ำอัตโนมัติ Lora โดยใช้งานระบบสมาร์ทฟาร์ม ที่ควบคุมการให้น้าแบบอัตโนมัติ และควบคุมการใช้น้าให้ประหยัดมากที่สุด และการพัฒนารูปแบบการทำบรรจุภัณฑ์ ให้มีความหนาแน่น ทนทานต่อการขนส่ง มีความน่าสนใจ ทันสมัย ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคและสถานประกอบการ ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาในเรื่องการขนส่งให้แก่สถานประกอบการอย่างแท้จริง และได้มีการวางแผนการพัฒนาต่อยอดโครงการ และแนวทางการพัฒนาระบบจัดการน้ำอย่างยั่งยืนต่อไป ที่จะส่งผลประโยชน์แก่ธุรกิจของสถานประกอบการในอนาคตอีกด้วย







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา