โลโก้เว็บไซต์ การประชุมตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการ RUCL รอบ 4 เดือน ประจำปี 2565 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย ณ สถานประกอบการ วันที่ 30 มกราคม 2566 โครงการการยกระดับสินค้าล้านนาด้วยหลักการบริหารสินค้าสร้างสรรค์ กรณีตุ๊กตาชนเผ่ามูลค่าสูง โดยมี นางไพรพันธ์ ธนเลิศโศภิต หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ คุณนายดีไซน์ ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ | งานยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

การประชุมตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการ RUCL รอบ 4 เดือน ประจำปี 2565 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย ณ สถานประกอบการ วันที่ 30 มกราคม 2566 โครงการการยกระดับสินค้าล้านนาด้วยหลักการบริหารสินค้าสร้างสรรค์ กรณีตุ๊กตาชนเผ่ามูลค่าสูง โดยมี นางไพรพันธ์ ธนเลิศโศภิต หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ คุณนายดีไซน์ ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 30 มกราคม 2566 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 1200 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรพิน พรมแดน หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาตร์ SPU พร้อมคณะ เข้าร่วมการประชุมตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการ RUCL รอบ 4 เดือน ประจำปี 2565 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย ณ สถานประกอบการ โครงการแพลตฟอร์มบริหารจัดการทรัพยากรผู้มีศักยภาพของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เพื่อปฏิรูประบบการพัฒนากำลังคนของประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2565  (Reinventing University) ภายใต้กิจกรรมโครงการ Platform การเตรียมความพร้อมและพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตให้กับภาคอุตสาหกรรม (Talent Mobility) ภายใต้โจทย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อล้านนาสร้างสรรค์ (Creative Lanna) รอบที่ 2 โดยการแก้ไขปัญหาโจทย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อล้านนาสร้างสรรค์ หมายถึง “การรักษา อนุรักษ์และพัฒนาด้วยการสร้างสรรค์วัฒนธรรมล้านนา เพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่มจากสินค้า บริการ หรือการท่องเที่ยวจากต้นทุนทางภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรมล้านนา มีการสร้างและรวบรวมองค์ความรู้พร้อมใช้ เพื่อนำไปทำให้ประโยชน์ต่อชุมชนให้สามารถนำไปต่อยอดด้วยการประยุกต์ บูรณาการกับการออกแบบรสนิยมวิถีชีวิตสมัยใหม่ ทำให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมสมัยและเติบโตด้วยตนเองได้” 

ทั้งนี้  นางณัฎฐาศิริ พรหมการัตน์ เจ้าของกิจการ ได้แนะนำกิจการ และพาเยี่ยมชมสถานประกอบการ ที่มีการผลิตและจำหน่าย เสื้อผ้าสตรีชาวเขา แฟชั่นต่างๆ ที่ถูกออกแบบสร้างสรรค์ให้ทันสมัย แต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าต่างๆ โดยมีการจำหน่ายผ่านสื่อออนไลน์ และหน้าร้าน โดยเสื้อผ้าต่างๆมีการสร้างสรรค์ให้มีความสวยงามที่หลากหลายแตกต่างกันไป นอกจากนี้ทางกิจการเน้นการยกระดับสินค้าล้านนาสร้างสรรค์ โดยให้วางสินค้าเป็นสินค้าคุณภาพดี ราคาสูง มีความเฉพาะตัว มีเพียงหนึ่งแบบในโลก โดยใช้วัตถุดิบคุณภาพดี เช่น ผ้าชนเผ่าดั้งเดิม เครื่องเงินที่ทำจากเงินจริง รวมทั้งการร่วมออกแบบผลิตตุ๊กตาชนเผ่าที่ถูกรังสรรค์ สร้างเป็นสินค้าชิ้นเดียวที่ไม่มีความเหมือนกัน ด้วยวัตถุดิบชั้นดีของชนเผ่า อาทิผ้าทอชนเผ่า  เครื่องเงินแท้จากวัวลายซึ่งเป็นแหล่งผลิตเครื่องเงินแท้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้ตุ๊กตาที่ผลิตมีเรื่องเล่า (Content) มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้โครงการการยกระดับสินค้าล้านนาด้วยหลักการบริหารสินค้าสร้างสรรค์ กรณีตุ๊กตาชนเผ่ามูลค่าสูง ที่เข้ามามีส่วนร่วมกับสถานประกอบการ ทำให้เกิดการบริหารจัดการการจำหน่ายสินค้าล้านนาสร้างสรรค์ โดยใช้ตุ๊กตาชนเผ่ามูลค่าสูง เป็นกรณีศึกษา และสร้างกระบวนการบริหารจัดการเพื่อจำหน่ายตุ๊กตาชนเผ่ามูลค่าสูง เพื่อเป็นต้นแบบการใช้แนวคิดการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ของชนเผ่า โดยสามารถสื่อสารและสร้างตัวอย่างที่ดีในการยกระดับสินค้าล้านนาสร้างสรรค์ให้มีมูลค่าสูง อีกทั้งยังสามารถจำหน่ายได้จริง ทำสินค้าชนเผ่ามูลค่าสูงในครั้งนี้ถือว่าประสบผลสำเร็จอย่างมากเนื่องจากเมื่อทดลองวางขาย เปิดตัวอย่างไม่เป็นทางการ มีผู้สนใจในสินค้าตุ๊กตาชนเผ่าเป็นจำนวนมาก ณ ปัจจุบัน รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์การแต่งกายของชนเผ่าต่างๆที่มีความเป็นเอกลักษ์ของแต่ละชนเผ่า เพื่อไม่ให้สูญหาย และต่อยอดสินค้าเพื่อเสริมสร้างรายได้ให้แก่ชนชาติพื้นเมือง ชนเผ่า รวมถึงชุมชน โดยสถานประกอบการคาดการณ์ในอนาคต มีความตั้งใจที่จะจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว นักศึกษา เพื่อเข้ามาศึกษาประวัติความเป็นมาของเครื่องแต่งกายของชนเผ่าต่างๆ อีกด้วย







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา